“ความรู้” เกิดก่อน “รู้ความ” …
…หรือความจริงแล้ว เราต้อง “รู้ความ” ก่อนจึงเกิด “ความรู้”
เป็นคำถามน่าฉงง…
วัยเด็ก…พวกผู้ใหญ่มักจะดีใจที่เราเป็นเด็ก “รู้ความ”
…พอโต…พวกผู้ใหญ่ก็บอกให้เราต้องไปเรียนหนังสือเพื่อให้เกิด “ความรู้”
… หากเป็นตรรกะเช่นนี้ มนุษย์เราควรต้องรู้ความก่อน…จึงจะเกิดความรู้
แต่ผมขอชวนลองคิดในอีกมุมหนึ่ง…มนุษย์ผู้มากความรู้ทั้งหลาย เหตุใดจึงได้ถูกตำหนิว่า “ไม่รู้ความ” ล่ะ??
หลายท่านอาจสงสัยไปกันใหญ๋ว่า … ไม่รู้ความอย่างไร??
… ขอพากลับมาทำความเข้าใจนิยามคำว่า “รู้ความ” ซึ่งหมายถึง “รู้ความว่า สิ่งใดเป็นสิ่งถูกต้องควรทำ สิ่งใดเป็นสิ่งผิดควรหลีกเลี่ยง”
เป็นไงครับ …. เห็นด้วยกับผมใหม่ครับ ผมคิดว่าทุกท่านคงจะมีคำตอบในใจตนเองอยู่แล้ว สุดท้ายคำว่า “รู้ความ” กับคำว่า “ความรู้” ก็เลยกลายเป็นปัญหาโลกแตก อย่างคำว่า “ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน”
ใครเห็นด้วย ช่วยกด Like ให้ด้วยนะครับ… ขอบคุณครับ
*** จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่รู้ความ ***
ปล.
… ในมุมนี้ จึงขอเสนอวิวัฒนาการของมนุษย์ แบบ เด็กผู้ไม่รู้ – เด็กผู้รู้ความ – ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ความ(ผิด-ถูก) – ผู้ใหญ่ผู้มากความ (แต่หาสาระและคุณประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติไม่ได้) – สุดท้ายก็วิวัฒนาการมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ความไปอย่างน่าเสียดาย … ทำอย่างไรจะหยุดวงจรเหล่านี้ได้ครับ มาช่วยกันคิดนะครับ
By :
Montree Prasertrungruang